บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563

คนเป่าปี่แห่งฮาเมลินเรื่องจริงสุดสยอง

คนเป่าปี่แห่งฮาเมลิน – เรื่องจริงสุดสยอง! ในปี คศ. 1284 ที่ถูกเล่าผ่านนิทานฟรุ้งฟริ้ง
The Pied Piper of Hamelin 
คนเป่าปี่แห่งฮาเมลิน ปรากฏในนิทานพื้นบ้านของเยอรมันที่เล่าโดยสองพี่น้องกริมม์ เรื่องมีอยู่ว่ากาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ที่เมืองฮาเมลินในภาคกลางของเยอรมัน ปี คศ.1248 ได้ถูกกองทัพหนูเข้าก่อกวนโดยเดือดร้อนไปทุกบ้าน พวกมันแพร่พันธุ์เป็นจำนวนมาก
แล้วกัดแทะเสบียงอาหาร อีกทั้งพวกมันยังเป็นพาหะนำโรคร้ายมาอีกด้วย บรรดาชาวเมืองรับไม่ได้กับเหตุการณ์เหล่านี้ ต่างหาทางกันกำจัดพวกหนู โดยพากันออกเงินจนได้ก้อนหนึ่งเพื่อให้เป็นรางวัลแก่ผู้ที่จะมาปราบหนูเหล่านี้ได้ จากนั้นก็มีคนต่างเมืองเดินทางมาที่นี่และรับอาสากำจัดหนูให้ แต่จนบัดนี้ก็ไม่มีใครอาสามาปราบฝูงหนูเหล่านี้เลย

ในยามนี้เองก็มีชายลึกลับผู้หนึ่งพร้อมกับปี่ที่เครื่องดนตรีคู่กายของเขาปรากฏตัว เขาอาสาจะปราบหนูให้ชาวเมืองแห่งนี้ และ ชาวเมืองก็ให้คำสัญญาว่าจะให้สิ่งตอบแทนใดๆ ก็ได้ตามที่เขาต้องการ
เมื่อตกลงกับชาวเมืองเรียบร้อย ชายประหลาดก็หยิบปี่ถุงออกมาและเป่าเพลงที่แปลกประหลาด พร้อมกับออกเดินไป ท่ามกลางสายตาสงสัยของชาวเมืองนั้นเอง กองทัพหนูทั้งหลายก็ออกมาจากที่ซ่อนจากบ้าน จากโบสถ์ ทุกหนทุกแห่งจนกลายเป็นขบวนแถวยาวเมื่อได้ฟังเพลงจากปี่ของเขาอย่างหลงใหล แล้วคนประหลาดคนนั้นก็เริ่มเดินตรงออกจากหมู่บ้านพร้อมกับกองทัพหนูที่วิ่งตามหลังเขา จนไปถึงแม่น้ำเวเซอร์ที่ไหลผ่านหมู่บ้านแห่งนี้ ชาย นักเป่าปี่ก็หยุดยืนอยู่ริมแม่น้ำ ในขณะที่ฝูงหนูพากันกระโจนลงน้ำไปเรื่อยๆ จนในไม่ช้าก็ไม่มีหนูเหลืออยู่แม้แต่ตัวเดียว และทั้งหมดก็จมน้ำตายในแม่น้ำนั้นเอง ทำให้หมู่บ้านแห่งนี้ปลอดจากการรบกวนของหนูเป็นที่เรียบร้อย 
หลังจากนั้นชายประหลาดก็มาทวงรางวัลจากชาวบ้าน แต่ชาวบ้านทั้งหลายเกิดความเสียดายเงินขึ้นมา จึงไม่ยอมจ่ายค่าตอบแทนให้ พร้อมกล่าวว่า “นายไม่ได้ ทำอะไรเสียหน่อย พวกหนูกระโดดลงน้ำไปเองต่างหาก” และยังขู่จะจับขังนักเป่าปี่อีกด้วยถ้าเขายังมัวตื๊อจะเอาเงินอยู่
ชายประหลาดโกรธมากเขากล่าวทิ้งท้ายว่า “พวกคุณต้องรักษาสัญญา ฉันจะเอาสิ่งสำคัญที่สุดของพวกคุณไป” แต่ก็ไม่มีใครสนใจ ยังกลับหัวเราะเยาะเขาเสียอีก เขาหายตัวไปจากหมู่บ้านแห่งนั้น

และในวันที่ 26 มิถุนายน 1284 
ชายประหลาดพร้อมปี่กลับมายังเมืองฮาเมลินอีกครั้ง เขาเริ่มเป่าปี่บทเพลงแปลกประหลาดบทใหม่บนถนน ซึ่งคราวนี้ผู้ติดตามเสียงปี่ของเขาที่ออกจากบ้านทุกหลัง กลับกลายเป็นเด็กๆ ที่ได้มารวมตัวกันและเดินตามเขาไปจนในไม่ช้าเด็กชายหญิงกว่า 130 คนต่างก็เต้นรำร้องเพลงตามทำนองของเสียงปี่ออกไปนอกเมือง และจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีใครพบเห็นชายประหลาดและเหล่าเด็กๆอีกเลย

ความจริงบางตำนานมีเหตุการณ์ต่อนิดหน่อยตรงที่เมื่อชายประหลาดเป่าปี่พา เด็กๆ ออกนอกเมืองแล้ว เขาก็พาเด็กไปถึงถ้ำแห่งหนึ่ง เมื่อเด็กทุกคนเข้าไปในถ้ำหมดแล้ว ชายประหลาดก็ปิดปากถ้ำขังเด็กทั้งหมดไว้ข้างในจนตายอยู่ในถ้ำ บางแห่งกล่าวว่าเหตุการณ์ครั้งนี้มีเด็กรอดตายเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น

โดยนิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเมื่อกว่า 700 ปีก่อน ต้นแบบของมันคือเรื่องราวประหลาดในกระจกสีของโบถส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นประมาณปี 1300 เป็นที่น่าเสียดายที่กระจกสีนี้ปัจจุบันถูกทำลายไปแล้ว กระจกสีอันปัจจุบันเป็นบานใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นตามบันทึกที่เหลือไว้เท่านั้นเองเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง
ว่ากันว่าเรื่องเด็กตายยกหมู่บ้านนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นเมื่อราวๆ ศตวรรษที่ 13 หรือ 14 เนื่องจากมีภาพเด็กๆ ตายเป็นจำนวนมากประดับเป็นกระจกสีไว้อยู่ชนโบสถ์ของเมืองฮาเมลิน “วันที่ 26 มิถุนายน 1284 เมืองฮาเมลิน ประเทศเยอรมันเกิดคดีเด็กจำนวนกว่า 130 คนหายสาบสูญไปอย่างกะทันหัน”
นี่แหละคือต้นกำเนิดของตำนานที่บันทึกปี 1440 ซึ่งเป็นบันทึกเก่าที่สุดเท่าที่เหลืออยู่(เรื่องของหนูถูกเพิ่มเข้ามาราวศตวรรษที่ 16) ไม่มีใครทราบแน่นอนว่าเรื่องราวเป็นเช่นไร และเด็กๆ หายไปได้อย่างไร หากด้วยเหตุนี้เมืองฮาเมลินจึงมีการตั้งกฎว่าห้ามร้องเพลงเต้นรำบนถนนที่ถูกกำหนดไว้อยู่เป็นเวลานานทีเดียว

จะอย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 1606 
โดยริชาร์ด โลรัน เวลส์เทกัน เวลาของคดีก็กลายเป็น 22 กรกฎาคม 1376 และเมื่อพี่น้องตระกูลกริมม์ทำการเรียบเรียงเรื่องนี้ในปี 1816 ก็ได้มีการเพิ่มเรื่องของเด็กขาแพลงกับเด็กตาบอดซึ่งไม่ได้หายตัวไปลงไปด้วยแล้วเด็กๆ หายไปไหน…?
ในเทพนิยาย พี่น้องกริมม์เขียนถึงการกำจัดฝูงหนูไว้อย่างละเอียด และเชื่อว่าคนเป่าปี่กลับมาลักพาตัวเด็กๆ เพื่อการแก้แค้น ทว่านักประวัติศาสตร์ไม่อาจค้นพบหลักฐานในเรื่องนี้ได้ กระจกสีที่หลงเหลืออยู่ ก็มีเพียงเรื่องการหายตัวไปของเด็กๆ ไม่ได้พูดถึงฝูงหนูแต่อย่างใด จึงมีข้อสันนิษฐานเพิ่มเติมอีกหลายๆ อย่างว่า การสังหารหมู่นี้ อาจไม่ใช่การแก้แค้น… แต่อาจจะเป็นเรื่องของโรคระบาด เพราะในยุคนั้น “กาฬโรค”
ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากหนู ถือว่าเป็นอันตรายมาก 
นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า เด็กที่หายไปอาจจะติดเชื้อกาฬโรค และคนเป่าปี่ทำหน้าที่พาพวกเขาออกจากหมู่บ้าน เพื่อความปลอดภัยของชาวบ้านที่เหลือ แต่ข้อสันนิษฐานนี้ก็มีคำค้านเช่นกัน เพราะกาฬโรคเริ่มระบาดในยุโรประหว่างช่วงปี ค.ศ. 1348-1350 แต่เหตุการณ์เด็กหายจากฮาเมลินเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1284

อีกหนึ่งทฤษฎีที่ถูกสันนิษฐาน ไปพ้องกับเทพนิยาย ฮันเซลกับเกรเทล นั่นคือชาวบ้านน่าจะมีฐานะยากจนมาก จนเลี้ยงเด็กๆ ไม่ไหว พวกเขาเลยส่งเด็กๆ ออกจากหมู่บ้าน เพื่อลดปากท้องที่ต้องเลี้ยงดู นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งทฤษฎีที่น่ากลัวไม่แพ้กัน เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงของสงครามครูเสด นักประวัติศาสตร์จึงสันนิษฐานว่า เด็กๆ อาจถูกส่งไปร่วมรบในสงครามนี้ ยังมีอีกทฤษฎีที่บอกว่า คนเป่าปี่อาจเป็นพวกชอบล่วงละเมิดทางเพศ ก็เลยลักพาตัวเด็กๆ ไปทำมิดีมิร้ายทีละคนจนหมดเมือง
เมืองฮาเมลินวันนี้
ปัจจุบัน สถานที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของเมืองฮาเมลิน กลายเป็นถนนสายสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก ถนนนั้นชื่อว่า Bungelosenstrasse (ถนนที่ไม่มีเสียงกลอง) ทางเมืองได้ตั้งกฎห้ามเล่นดนตรี ร้องเพลงและเต้นรำที่เมืองนี้เป็นอันขาด เพื่อเป็นเกียรติให้กับเด็กๆ ที่หายตัวไป ใกล้กันยังมีตึกชื่อว่า Rattenfängerhaus (บ้านคนจับหนู) ซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1602-1603 ร้านอาหารหลายร้านในเมืองก็จัดในธีมคนเป่าปี่ และมีสินค้าเกี่ยวกับคนเป่าปี่ขายอยู่เป็นจำนวนมาก
ทุกวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ยังเป็นวัน “คนจับหนู” อีกด้วย
อย่างที่เห็นข้างต้น นิทานเรื่องนี้นำมาจากเรื่องจริงของเมืองฮาเมลิน (Hamelin หรือ Hameln ในภาษาเยอรมัน) ซึ่งเมืองนี้มีจริงในประวัติศาสตร์และยังอยู่จนถึงปัจจุบัน

เมืองฮาเมลินเป็นเมืองในแคว้นเนียเดอร์แซสเซน ประเทศเยอรมันนี.....
ปัจจุบันมีประชาการประมาณ 60,000 คน เมืองนี้อยู่เลียบแม่น้ำเวเซอร์ ใกล้กับถนนเมลเพนอันมีชื่อเสียง มีเป็นอาคารเก่าแก่ของเมือง นอกจากนั้นยังมีการจัดงานแสดงละครและคอนเสริ์ตทุกๆ ปีที่Hochzeitshause 

ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พบปะสังสรรค์เมือมีงานสำคัญๆ ของชาวเมือง และที่น่าสนใจคือเมนูอาหารประจำเมืองและสถานที่ของเมืองมีความเกี่ยวข้องกับนิทานเรื่องนี้ด้วย เช่น ซ็อตโกแล็ตรูปหนู ห้องรับประทานอาหารรูหนู เป็นต้น
ซึ่ง เมืองนี้มีชื่ออยู่ในความทรงจำของคนส่วนใหญ่นี้เป็นเพราะนิทานเรื่องข้างต้นนี้เอง
Custom Search

รายการบล็อกของฉัน

 hellomanman  happy-topay  invite-buying
 men-women-apparel diarylovemanman news-the-world
 homemanman alovemanman
 menmen-love
 ghost-in-manman  U.F.O.manman fishmanman
foodmanman  flowermanman herbs-in-manman
devilmanman herbs-in-manman manman clip