สร้อยตุตันคาเมนที่ประดับด้วยแก้วที่สลักเป็นรูปแมลงปีกแข็งอันศักดิ์สิทธิ์
บีบีซีนิวส์ - ย้อนไปเมื่อ 10 ปีก่อน ณ พิพิธภัณฑ์ในนครไคโรของอียิปต์ นักธรณีวิทยาอิตาเลียนรายหนึ่งสังเกตเห็นอัญมณีประหลาดที่ประดับอยู่ตรงกลางของสร้อยเส้นหนึ่งของฟาโรห์ “ตุตันคาเมน” เมื่อนำไปตรวจสอบพบว่า แท้จริงอัญมณีเม็ดนั้นเป็นแก้ว แต่ปัญหาก็คือ แก้วที่ว่ามีอายุเก่าแก่กว่าอารยธรรมอียิปต์ตอนต้นเสียอีก
วินเซนโซ เดอ มิเชล
(Vincenzo de Michele)
คือนักธรณีวิทยาอิตาเลียน
(Aly Barakat) นักธรณีวิทยาอียิปต์ เพื่อค้นหาต้นกำเนิดของอัญมณีปริศนาจนไปพบแก้วแบบนี้กระจัดกระจายเกลื่อนกลาดในทะเลทรายซาฮาราชนิดที่ไม่สามารถหาคำอธิบายได้ และนั่นนำไปสู่ปริศนาทางวิทยาศาสตร์ว่า “แก้วเหล่านั้นไปอยู่ในบริเวณดังกล่าวได้อย่างไร”
(Vincenzo de Michele)
คือนักธรณีวิทยาอิตาเลียน
(Aly Barakat) นักธรณีวิทยาอียิปต์ เพื่อค้นหาต้นกำเนิดของอัญมณีปริศนาจนไปพบแก้วแบบนี้กระจัดกระจายเกลื่อนกลาดในทะเลทรายซาฮาราชนิดที่ไม่สามารถหาคำอธิบายได้ และนั่นนำไปสู่ปริศนาทางวิทยาศาสตร์ว่า “แก้วเหล่านั้นไปอยู่ในบริเวณดังกล่าวได้อย่างไร”
ล่าสุด รายการฮอไรซัน
(BBC Horizon) ของสถานีโทรทัศน์
บีบีซีจัดทำสารคดีเกี่ยวกับปริศนาเร้นลับนี้ โดยระบุทฤษฎีใหม่เชื่อมโยงเพชรประหลาดของตุตันคาเมนกับอุกกาบาตที่หล่นลงมาจากนอกโลก
(BBC Horizon) ของสถานีโทรทัศน์
บีบีซีจัดทำสารคดีเกี่ยวกับปริศนาเร้นลับนี้ โดยระบุทฤษฎีใหม่เชื่อมโยงเพชรประหลาดของตุตันคาเมนกับอุกกาบาตที่หล่นลงมาจากนอกโลก
เริ่มจากคริสเตียน โคเบิร์ล
(Christian Koeberl) นักเคมีวิทยาดาราศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ที่ตั้งสมมติฐานว่า แก้วปริศนาเกิดจากอุณหภูมิที่สูงมากๆ ซึ่งเท่าที่รู้เกิดจากปัจจัยเพียงอย่างเดียวคือ ผลกระทบจากอุกกาบาตต่อโลก อย่างไรก็ดี ไม่มีร่องรอยของหลุมอุกกาบาตในบริเวณดังกล่าว แม้จากภาพถ่ายดาวเทียม
จอห์น วัสสัน (John Wasson)
นักธรณีฟิสิกส์อเมริกันเป็นนักวิทยาศาสตร์อีกคนที่สนใจต้นกำเนิดของแก้วปริศนา ซึ่งเขาคิดว่าน่าจะมีสมมติฐานเดียวกันกับสิ่งที่เกิดในป่าในไซบีเรียเมื่อปี 1908 ซึ่งเรียกว่าปรากฏการณ์ตังกัสกา (Tunguska) ที่เกิดระเบิดครั้งใหญ่จนต้นไม้ 80 ล้านต้นในบริเวณนั้นราบเป็นหน้ากลอง
(Christian Koeberl) นักเคมีวิทยาดาราศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ที่ตั้งสมมติฐานว่า แก้วปริศนาเกิดจากอุณหภูมิที่สูงมากๆ ซึ่งเท่าที่รู้เกิดจากปัจจัยเพียงอย่างเดียวคือ ผลกระทบจากอุกกาบาตต่อโลก อย่างไรก็ดี ไม่มีร่องรอยของหลุมอุกกาบาตในบริเวณดังกล่าว แม้จากภาพถ่ายดาวเทียม
นักธรณีฟิสิกส์อเมริกันเป็นนักวิทยาศาสตร์อีกคนที่สนใจต้นกำเนิดของแก้วปริศนา ซึ่งเขาคิดว่าน่าจะมีสมมติฐานเดียวกันกับสิ่งที่เกิดในป่าในไซบีเรียเมื่อปี 1908 ซึ่งเรียกว่าปรากฏการณ์ตังกัสกา (Tunguska) ที่เกิดระเบิดครั้งใหญ่จนต้นไม้ 80 ล้านต้นในบริเวณนั้นราบเป็นหน้ากลอง
แม้ไม่ปรากฏสัญญาณว่ามีอุกกาบาตวิ่งชนโลก แต่นักวิทยาศาสตร์คิดว่า น่าจะมีวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่งจากนอกโลกระเบิดเหนือตังกัสกา ขณะที่วัสสันสงสัยว่า น่าจะมีการระเบิดในอากาศในลักษณะคล้ายกันกับที่ตังกัสกา ซึ่งรุนแรงมากถึงขนาดที่ทำให้ทรายในทะเลทรายอียิปต์กลายสภาพเป็นแก้ว
การระเบิดของระเบิดปรมาณูลูกแรกที่ถูกนำไปทดสอบในนิวเม็กซิโกเมื่อปี 1945 ทำให้เกิดชั้นแก้วบางๆ บนผืนทราย แต่บริเวณที่กลายเป็นแก้วในทะเลทรายอียิปต์กินบริเวณกว้างขวางกว่า ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในสถานที่ดังกล่าว ที่แน่ๆ สิ่งนั้นย่อมมีอานุภาพรุนแรงกว่าระเบิดปรมาณู
ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องการระเบิดกลางอากาศซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีความรุนแรงถึงระดับนั้นจนกระทั่งปี 1994 เมื่อนักวิทยาศาสตร์จับตาดูดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี (Shoemaker-Levy) ชนกับดาวพฤหัสบดีและเกิดระเบิดในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี ซึ่งกล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิลเก็บภาพลูกไฟสว่างเจิดจ้าชนิดที่ไม่เคยเห็นมาก่อนพุ่งขึ้นเหนือเส้นขอบฟ้าของดาวดวงดังกล่าว
มาร์ก บอสลัฟ (Mark Boslough) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจำลองปรากฏการณ์อุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลกบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สร้างสถานการณ์จำลองของปรากฏการณ์ดังกล่าว และพบว่าหากอุกกาบาตพุ่งชนโลก จะทำให้เกิดลูกไฟขนาดใหญ่ซึ่งสามารถทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกสูงถึง 1,800 องศาเซลเซียส และทิ้งทุ่งที่เกลื่อนกลาดไปด้วยแก้วปริศนาไว้เบื้องหลัง
บอสลัฟระบุว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะรุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่นำไปทดลองในนิวเม็กซิโกสิบเท่า ยิ่งวัตถุนั้นเปราะบางเท่าไหร่ แนวโน้มที่จะเกิดการระเบิดในอากาศยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัสสันค้นพบสิ่งที่เหลือจากปรากฏการณ์เมื่อ 800,000 ปีที่แล้ว ซึ่งรุนแรงและทำลายล้างมากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในทะเลทรายอียิปต์ และอาจทำให้เกิดลูกไฟมากมาย รวมทั้งแก้วปริศนากินอาณาบริเวณหลายแสนตารางไมล์ โดยปราศจากร่องรอยหลุมอุกกาบาต ซึ่งหมายความว่า ผู้คนในบริเวณดังกล่าวไม่มีใครรอดชีวิตเลย
ที่สำคัญ จากทัศนะของบอสลัฟและวัสสัน เหตุการณ์ที่คล้ายกับที่เกิดขึ้นที่ตังกัสกาอาจเกิดขึ้นทุกๆ 100 ปี ทำให้เกิดระเบิดในอากาศรุนแรงพอๆ กับระเบิดปรมาณูที่บอมบ์ฮิโรชิมาหลายลูกรวมกัน
อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ยังเตือนว่า ความพยายามในการระเบิดอุกกาบาตที่พุ่งตรงมายังโลกเหมือนที่เห็นในหนังฮอลลีวูด รังแต่จะทำให้ระเบิดรุนแรงขึ้น