บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2565

ทางออกมลพิษพลาสติก? วิจัยพบหนอนกินพลาสติกได้ ด้วยแบคทีเรียในลำไส้ทำให้มันย่อยถุงพลาสติกได้! ชี้ตอนนี้ดีที่สุดมนุษย์ต้องลดสร้างขยะ

ทางออกมลพิษพลาสติก? วิจัยพบหนอนกินพลาสติกได้ ด้วยแบคทีเรียในลำไส้ทำให้มันย่อยถุงพลาสติกได้! ชี้ตอนนี้ดีที่สุดมนุษย์ต้องลดสร้างขยะ

ในปี 2017 มีการวิจัยค้นพบว่าหนอน Wax worm หนอนผีเสื้อกลางคืนสามารถย่อยสลาย และกินพลาสติกได้ แม้กระทั่ง Polyethylene พลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ที่กำลังอยู่ในหลุมฝังกลบทุกวันนี้

โดยล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ได้ทำความเข้าใจมันเพิ่มเติมมากขึ้น ว่าเจ้าหนอนสามารถทำเช่นนั้นได้อย่างไร โดยมันเป็นเพราะ bacteria ในลำไส้ของมันนั่นเอง หรือว่าจุลินทรีย์ microbiome

ผลของงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the Royal Society B ทำให้เราเห็นระบบย่อยสลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกมากขึ้น

"เราพบว่า Waxworm หนอนผีเสื้อมีจุลินทรีย์ในลำไส้ที่สามารถทำกระบวนการย่อยสลายพลาสติกทางชีวภาพได้" Chrisyophe LeMoine ซึ่งเป็น associate professor and chair of biology ใน Brandon University ประเทศ Canada เผย โดยกระบวนการนี้เป็นผลที่ทำให้มันสามารถเร่งการย่อยสลายพลาสติกได้


โดยมีการคาดการณ์ว่าสัตว์หลายชนิดมีจุลินทรีย์ Microbiome ซึ่งสำหรับหนอนผีเสื้อ Waxworm นั้น จุลินทรีย์ในลำไส้ทำหน้าที่ย่อยและทำให้พลาสติกแตกสลาย แต่ตัวหนอนนั้นเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดกระบวนการนั้นเอง

งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Science and Technology ว่า "หนอนนกสามารถกิน สไตโรโฟม (Styrofoam) หรือพลาสติกอื่น ๆ อีกหลายชนิดได้

โดยหากย้อนไปในการค้นพบนี้ มันเกิดขึ้นจากความบังเอิญในสเปน โดยนักวิจัยจาก Biomedicine and Biotechnology of Cantabria (CSIC) ในสเปนที่บังเอิญพบว่า หนอนผีเสื้อสามารถย่อยสลายถุงพลาสติกได้จากการเอามันใส่ไว้ในถุงพลาสติก โดยเวลาผ่านไปพบว่าหนอนออกมาจากถุงได้ เกิดรูบนถุงหลายรู หนอน Waxworm เป็นตัวอ่อนผีเสื้อที่ปกติแล้วจะกินขี้ผึ้งในรัง


หลังจากนั้นทีมได้ทำการศึกษาพบว่าเจ้า Wax worm สามารถย่อยถุงพลาสติก polyethylene ได้อย่างรวดเร็ว

LeMoine เผยว่าขณะนี้ waxworms ยังไม่ใช่วิธีที่จะแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกได้เลย เพราะยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงเจ้าตัวหนอน และจุลชีพในลำไส้ของมันมากขึ้น ก่อนที่จะนำมาปรับใช้ในวงกว้างได้

หนึ่งในสิ่งที่ต้องศึกษาก็คือเราจะควบคุมสารพิษที่เจ้าหนอนปล่อยออกมาจากการขับถ่าย หลังที่มันกินพลาสติกเข้าไปได้อย่างไร

"ในขณะที่ตอนนี้มีข่าวดีถึงการศึกษาเพิ่มเติม แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องศึกษาก่อนที่จะสามารถนำมาแก้ไขปัญหาพลาสติกของเราได้ ดังนั้นมันดีที่ที่สุดที่เราจะลดสร้างขยะพลาสติกก่อนที่การศึกษาจะสำเร็จ" Leoine ระบุ

การค้นพบและคิดค้นสิ่งที่ช่วยเร่งย่อยสลายพลาสติกถือเป็นเรื่องดี เพราะพลาสติกอาจใช้วลาในการย่อยสลายตามธรรมชาติกว่า 100-1,000 ปี ซึ่งหนอนย่อยพลาสติกได้รับความสนใจจากคนทั้งโลก โดยมองว่าอาจเป็นทางออกแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกท่วมโลกได้

แต่มันเป็นเพียงการแก้ปัญหาขยะที่ปลายทาง

อย่าลืมว่าที่สำคัญเราต้อง ลด ละ เลิกสร้างขยะพลาสติก เพื่อแก้ปัญหาขยะตั้งแต่ต้นทางด้วย... อย่าผลักภาระให้เจ้าหนอนเลย

Paolo Bombelli and Chris Howe from the University of Cambridge, and Federica Bertocchini from CSIC discovered that wax worms (Galleria mellonella) are capable of degrading plastic.

รายการบล็อกของฉัน

 hellomanman  happy-topay  invite-buying
 men-women-apparel diarylovemanman news-the-world
 homemanman alovemanman
 menmen-love
 ghost-in-manman  U.F.O.manman fishmanman
foodmanman  flowermanman herbs-in-manman
devilmanman herbs-in-manman manman clip