ย้อนรอยตำนานพระศพของราชินีชาดที่ทาสีแดงและมีมีสารปรอทสูงมาก
ก็อย่างว่าอะไรนะครับความเชื่อของคนโบราณก็แสดงออกได้หลายลักษณะเช่นการใช้สีแดงสดทาร่างกายเมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตหน้า
แล้วก็ทาสีแดงแป๊ดไม่ว่าโลงศพหรือว่าซากร่างกายก็เพราะความเชื่อทางความคิดและสิ่งที่ทำต่อๆกันมา
แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งที่เอามาทาตัวทาทั่วไปหมดนั่นน่ะมันมีสารปรอทสูงมากๆแล้วมันเป็นพิษด้วยนะครับโดยเฉพาะตัวอย่างพระศพของราชินีชาดแร่ซินนาบาร์ หรือชาด ที่ให้สีแดงสด แต่มีสารปรอทสูงมาก
เรามาเข้ารายละเอียดของบทความนี้กันเลยดีกว่านะครับเพื่อเป็นความรู้เล็กๆน้อยๆแบ่งปันกัน
พระศพของราชินีชาด
แร่ซินนาบาร์ หรือชาด ที่ให้สีแดงสด แต่มีสารปรอทสูงมาก เพราะอีกชื่อหนึ่งของแร่นี้คือ เมอคิวรี ซัลไฟด์ ที่เป็นพิษ ชาวมายาใช้สีแดงทาศพและโลงที่บรรจุ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตหน้า และแร่เฮมาไทต์ ให้ผงสีแดงเช่นกัน
ทั้งซินนาบาร์และเฮมาไทต์มักใช้ทาในสถานที่ฝังศพ เดาได้ว่า บรรดาพระและผู้เตรียมศพคงม้วยไปด้วยกันในเวลาอันใกล้หลังพิธีฝังศพ เพราะขนาดเวลาผ่านไปเป็นพันปี เมื่อนักโบราณคดีเข้าใกล้ สถานที่ยังต้องใส่หน้ากาก ใส่ถุงมือป้องกันพิษจากสารปรอทที่หลงเหลืออยู่เลยครับ
ตัวอย่างการใช้สีแดงก็เช่นห้องฝังพระศพราชินีที่นักโบราณคดีเรียกว่า ราชินีชาด (The red queen) สันนิษฐานว่า
คือพระนางซัคบูอะเฮา (Tz’akb’u Ajaw) มเหสีขององค์ฮานาบ ปากาลที่ 2 แต่ยังรอผลตรวจดีเอ็นเอคอนเฟิร์มอยู่ครับ ฝังในศตวรรษที่เจ็ดครับ แต่สียังแดงสดอยู่เลย
ดูภาพประกอบไปด้วยนะครับแล้วเราก็ต้องทำใจไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือราชินีสมัยไหนๆยิ่งใหญ่ขนาดไหนเวลาตายก็ไม่ได้แตกต่างไปจากคนธรรมดาหรอกนะครับดูในภาพสิ...ซากกระดูกอ้าปากหวอมันก็แค่คนธรรมดาๆที่มียศฐาบรรดาศักดิ์สมมติกันขึ้นมาเองทั้งนั้นตายไปก็แค่นี้จบ