มัมมี่ถูกนำมาปรุงเป็นยา
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 12-17
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 12-17
การกินถือเป็นจารีตของแต่ละชาติที่มีความเชื่อต่างกันออกไป เช่นชาวญี่ปุ่นอาจกินปลาดิบที่แล่มาจากปลาที่เพิ่งว่ายน้ำอยู่เมื่อสักครู่ หรือชาวเกาหลี
รับประทานปลาหมึกหนวดกระดุบกระดิบ ซึ่งที่จริงแล้วการกินยังผสานอยู่ในกิจกรรมแห่งชีวิตอื่นๆได้อีกอย่างไม่น่าเชื่อ อย่างงานปลงศพที่เป็นพิธีแห่ง
วาระสุดท้าย
รับประทานปลาหมึกหนวดกระดุบกระดิบ ซึ่งที่จริงแล้วการกินยังผสานอยู่ในกิจกรรมแห่งชีวิตอื่นๆได้อีกอย่างไม่น่าเชื่อ อย่างงานปลงศพที่เป็นพิธีแห่ง
วาระสุดท้าย
เฮโรโดตัสกล่าวถึงงานศพที่มีการกินร่างผู้ตายในหมู่ชาว “กาลลาเตีย” ที่เชื่อว่าเป็นชนเผ่าในอินเดีย ส่วนชาวปาปัวนิวกินีมีประเพณีกินร่างของผู้เสียชีวิตที่เป็นสมาชิกในครอบครัวหรือชนเผ่าเดียวกัน ในชนพื้นเมือง “ยาโนมามโย” แถบป่าดิบชื้นอะเมซอนนำซากศพเพื่อนร่วมเผ่าที่ฌาปนกิจแล้วมารับประทานในรูปของกระดูกที่ป่นปนกับขี้เถ้าอังคารซึ่งถือเป็นการแสดงความเศร้าโศกต่อการจากไปอย่างไม่มีวันกลับ
นอกจากการเปิบพิสดารในรูปแบบวัฒนธรรมและรสนิยมส่วนบุคคลแล้วยังมีเหตุผลของการเปิบสยองเพื่อ “ป้องกันโรค” ด้วย ซึ่งในยุคหนึ่งนั้นแพทย์ผู้รักษาเป็นคนแนะนำหรือปรุงขึ้นมาให้คนไข้เองด้วยซ้ำ ในอดีตมีตัวอย่างโอสถที่ทำจากมนุษย์ ซึ่งผู้ใช้คงต้องมีประสาทที่แข็งพอก่อนใช้ ดังต่อไปนี้ครับ
มัมมี่บำบัด มัมมี่หรือศพอาบยาถือเป็นโอสถยอดนิยมระดับดาวค้างฟ้าอยู่นานนับร้อยปีตั้งแต่ศตวรรษที่ 12-17 ด้วยถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยาที่ช่วยรักษาโรคได้สารพัดตั้งแต่ปวดหัวไปจนถึงแผลในกระเพาะ โอสถสสารจากมัมมี่นี้ก็มีกรรมวิธีไม่ยากเย็นแต่อย่างใด
(ถ้าไม่นับว่าต้องไปขุดที่อียิปต์แล้วแงะฝาโลงให้เปิดออกก่อนอุ้มพามัมมี่หนี!) ด้วยการเอาร่างศพอาบยาพร้อมผ้าพันนั้นมา “ป่น” ให้ละเอียด ซึ่งผงมัมมี่ที่ได้ก็จะถูกนำมาใช้เป็นยาทั้งชนิด “
ใช้ภายนอก” และ “ใช้ภายใน” หรือพูดง่ายๆว่ามีทั้งแบบกินและแบบทาครับ เชื่อกันว่าเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งการบำบัด ถ้าไม่นับว่าอาจเป็น “
ความเข้าใจผิด”!
ใช้ภายนอก” และ “ใช้ภายใน” หรือพูดง่ายๆว่ามีทั้งแบบกินและแบบทาครับ เชื่อกันว่าเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งการบำบัด ถ้าไม่นับว่าอาจเป็น “
ความเข้าใจผิด”!
ด้วยมีผู้สงสัยว่าคนโบราณยุคกลาง
ที่ฮิตมัมมี่บำบัดไม่ต่างกับคนยุคใหม่ฮิตใบทุเรียนเทศหรือน้ำมะนาวโซดานั้น อาจตีความคำว่า “มัมมี่” (Mummy)
ในตำรายาเก่าแก่ผิดไป ด้วยในสมัยก่อนนั้นมีการระบุว่า “น้ำมันดิน” หรือบิทูเมนที่ได้จากเดดซีแถวอิสราเอลนี้เป็นของที่ใช้รักษาโรคอย่างเรื้อน, เกาต์, บิด, ตาต้อ และรูมาตอยด์ได้ ซึ่งคำว่าน้ำมันดินนี้ในภาษาเปอร์เซียนเรียกว่า “มูเมีย” (Mumia) ซึ่งก็เป็นที่มาของคำว่า “มัมมี่” หรือศพอาบยาแบบไอยคุปต์นี่เอง เลยเป็นเหตุให้ฝรั่งในยุคกลางพากันหา “มัมมี่” ตัวเป็นๆ เอ้อ...
ที่ฮิตมัมมี่บำบัดไม่ต่างกับคนยุคใหม่ฮิตใบทุเรียนเทศหรือน้ำมะนาวโซดานั้น อาจตีความคำว่า “มัมมี่” (Mummy)
ในตำรายาเก่าแก่ผิดไป ด้วยในสมัยก่อนนั้นมีการระบุว่า “น้ำมันดิน” หรือบิทูเมนที่ได้จากเดดซีแถวอิสราเอลนี้เป็นของที่ใช้รักษาโรคอย่างเรื้อน, เกาต์, บิด, ตาต้อ และรูมาตอยด์ได้ ซึ่งคำว่าน้ำมันดินนี้ในภาษาเปอร์เซียนเรียกว่า “มูเมีย” (Mumia) ซึ่งก็เป็นที่มาของคำว่า “มัมมี่” หรือศพอาบยาแบบไอยคุปต์นี่เอง เลยเป็นเหตุให้ฝรั่งในยุคกลางพากันหา “มัมมี่” ตัวเป็นๆ เอ้อ...
ตายแล้วอันเป็นซากแห้งมาเป็นเครื่องยารักษาโรคกันยกใหญ่