😳ตำนานและที่มาของที่มาของ “ระบำมรณะ”ความสยดสยองต่างๆ ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14
ความหมายและที่มาของ ระบำมรณะ ทุกสิ่งทุกอย่างที่สร้างเติมแต่งขึ้นมา ล้วนแต่มีความหมายในตัวของมันเอง การสร้างงาน “ระบำมรณะ” ก็เพื่อเป็นการเตือนว่าชีวิตเป็นของไม่แน่นอนและความมีเกียรติมีศักดิ์เป็นเพียงของนอกกาย
ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14 มันก็เป็นสัจธรรมข้อคิดที่แตกต่างออกไปแล้วแต่สถานภาพและความนิยมความเชื่อในขณะนั้นมันจึงเป็นที่มาของคำว่า"ระบำมรณะ"
ระบำมรณะ (อังกฤษ: Dance of Death; ฝรั่งเศส: Danse Macabre; เยอรมัน: Totentanz) เป็นอุปมานิทัศน์จากยุคกลางที่เป็นการเตือนว่าความตายเป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง และ “ระบำมรณะ” เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน
“ระบำมรณะ” โดย ไมเคิล โวลเกอมุท ราว ค.ศ. 1493 จาก “Liber chronicarum” โดยฮาร์ทมันน์ เชเดล
เปียเตอร์ บรูเกล (ผู้พ่อ), “ชัยชนะแห่งความตาย” (The Triumph of Death) (ราว ค.ศ. 1562) ในพิพิธภัณฑ์ปราโด, มาดริด งานของบรูเกลได้รับอิทธิพลเป็นอันมากจากเฮียโรนิมัส บอส
“ระบำมรณะ” (หลวงพ่อกับนายอำเภอ) ปารีส กี มาร์ชองต์ (Guy Marchant) ค.ศ. 1486
“ระบำมรณะ” ประกอบด้วยความตายที่อุปมาเป็นบุคคลที่นำแถวผู้เต้นรำไปยังที่ฝังศพ ผู้ที่เต้นรำก็จะมาจากชนทุกระดับชั้นที่มักจะประกอบด้วยพระจักรพรรดิ, พระเจ้าแผ่นดิน, เด็กหนุ่ม และหญิงสาว ทั้งหมดมักจะอยู่ในรูปของโครงกระดูกหรือกึ่งเน่าเปื่อย
การสร้างงาน “ระบำมรณะ” ก็เพื่อเป็นการเตือนว่าชีวิตเป็นของไม่แน่นอนและความมีเกียรติมีศักดิ์เป็นเพียงของนอกกาย ที่มาของ “ระบำมรณะ” มาจากภาพประกอบหนังสือเทศน์ ตัวอย่างที่เก่าที่สุดที่พบมาจากสุสานในปารีสในปี ค.ศ. 1424
จิตรกรรม
งานศิลปะที่เก่าที่สุดของ “ระบำมรณะ” เป็นงานจิตรกรรมในสุสานของวัดโฮลีอินโนเซนต์ส์ในปารีสจาก ค.ศ. 1424 นอกจากนั้นก็ยังมีงานของ คอนราด วิตซ์ (Konrad Witz) ที่บาเซลจาก ค.ศ. 1440; เบิร์นท โนตเค (Bernt Notke) ที่ลือเบ็คจาก ค.ศ. 1463; และงานแกะไม้ออกแบบโดยฮันส์ โฮลไบน์ (ผู้ลูก) และแกะโดยฮันส์ ลึทเซลเบอร์เกอร์ (Hans Lützelburger) จาก ค.ศ. 1538
👉🏾ความสยดสยองต่างๆ ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14
—จากความอดอยากที่เกิดขึ้นหลายครั้ง; สงครามร้อยปีในประเทศฝรั่งเศส; และที่สำคัญที่สุดก็คือกาฬโรคระบาดในยุโรป—เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อวัฒนธรรมทั่วไปในยุโรป บรรยากาศของความตายอันทรมานที่เห็นอยู่โดยทั่วไปที่อาจจะเกิดขึ้นกับใครก็ได้หรือเมื่อใดก็ได้ ทำให้ผู้คนหันไปหาศาสนาเพราะความรู้สึกว่าตนเองมีความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะมีความสนุกขณะที่ยังมีโอกาส “ระบำมรณะ” รวมทั้งสองความต้องการที่คล้ายคลึงกับละครปริศนา (mystery plays) ของยุคกลาง
อุปมานิทัศน์ ของ “ระบำมรณะ” ในสมัยแรกเป็นบทสั่งสอนเพื่อเตือนถึงความตายที่จะมาถึงเมื่อใดก็ได้ และเป็นการเตือนให้มีความเตรียมพร้อมตลอดเวลา
ตัวอย่างแรกที่สุดของละครที่เป็นบทพูดสั้นๆ ระหว่าง “ความตาย” และผู้ที่กำลังจะตายแต่ละคนพบหลังจากกาฬโรคระบาดในประเทศเยอรมนี (ที่เรียกกันว่า “Totentanz” และในประเทศสเปนที่เรียกกันว่า “la Danza de la Muerte”) ในฝรั่งเศสคำว่า “danse macabre” คงมาจากภาษาละติน “Chorea Machabæorum” ซึ่งแปลตรงๆ ว่า “การเต้นรำมัคคาบีส” 2 มัคคาบีสจากเฉลยธรรมบัญญัติ (Deuteronomy) หนึ่งในหนังสือจากคัมภีร์ไบเบิล ที่บรรยายถึงแม่ผู้พลีชีพกับลูกเจ็ดคน
ซึ่งเป็นหัวข้อที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในยุคกลาง และอาจจะเป็นไปได้ว่าการพลีชีพมัคคาบีสฉลองกันในบทละครฝรั่งเศสสมัยต้นที่เป็นบทระหว่างความตายและเหยื่อของความตาย ทั้งบทละครและภาพเขียนที่วิวัฒนาการขึ้นมาใช้เป็นบทสั่งสอนสำหรับผู้คนจำนวนมากในสมัยนั้นที่ไม่มีการศึกษาและอ่านหนังสือไม่ออก
นอกจากนั้น “ระบำมรณะ” ก็ยังพบใน จิตรกรรมฝาผนัง ที่เกี่ยวกับความตายก็เป็นศิลปะที่แพร่หลาย เช่นตำนานเรื่องชายสามคนที่ยังมีชีวิตอยู่พบชายสามคนที่ตายไปแล้ว เรื่องของเรื่องคือชายสามคนขี่ม้าไป ระหว่างทางก็พบโครงกระดูกสามโครงของบรรพบุรุษผู้ที่เตือนว่า “Quod fuimus, estis; quod sumus, vos eritis” (เราเคยเป็น, เจ้าเป็น; เราเป็น, เจ้าจะเป็น) ภาพนี้จากคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมายังคงเหลืออยู่หลายแห่งเช่นที่วัดของโรงพยาบาลที่วิสมาร์
จิตรกรรม “ระบำมรณะ” มักจะเป็นภาพการร่ายรำเป็นวงที่นำด้วย “ความตาย” ผู้ร่วมก็มีตั้งแต่ผู้มียศศักดิ์สูงที่สุดในยุคกลางที่อาจจะเป็นพระสันตะปาปา และพระจักรพรรดิ) ไปจนถึงชนชั้นต่ำทีสุดที่อาจจะเป็นขอทาน, ชาวบ้าน หรือเด็ก
มือแต่ละมือของผู้ที่มีชีวิตอยู่ก็ถูกกุมโดยมือกระดูกหรือมือที่เน่าเปื่อย ภาพ “ระบำมรณะ” ที่มีชื่อเสียงที่สุดที่ลือเบ็คในวัดมาเรียน (ถูกทำลายระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง) แสดงภาพ“ความตาย” ที่ดูเหมือนจะเต้นรำออกมานอกภาพได้ ขณะที่ผู้ร่วมเต้นรำดูเงอะงะและซึมเซื่อง ความแตกต่างของวรรณะถูกทำให้ละลายหายไปเพราะความตาย เช่น “ระบำมรณะ” ของเม็ตซินที่พระสันตะปาปาสวมมงกุฏที่ถูกนำไปสู่นรกโดย “ความตาย”
โดยทั่วไปแล้วเหยื่อแต่ละคนก็จะมีบทพูดสั้นๆ เมื่อ “ความตาย” เรียกตัวและเมื่อผู้ถูกเรียกครวญครางถึงความตายที่จะมาถึง ในหนังสือ “ระบำมรณะ” ที่พิมพ์ครั้งแรก
(ไม่ทราบนาม: Vierzeiliger oberdeutscher Totentanz, Heidelberger Blockbuch,ราว ค.ศ. 1460),
“ความตาย” กล่าวต่อ พระจักรพรรดิ:
Her keyser euch hilft nicht das swertCzeptir vnd crone sint hy nicht wertIch habe euch bey der hand genomenIr must an meynen reyen komenมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระขรรค์ของพระองค์ก็หาช่วยกันพระองค์ได้ไม่ณ ที่แห่งนี้ พระคทาและพระมหามงกุฏหาประโยชน์อันใดมิได้ อาตมาได้จับพระหัตถ์ของพระองค์ไว้แล้วด้วยว่าบพิตรจักต้องทรงนาฏกรรมนี้ไปกับอาตมา
ในตอนจบ “ความตาย” เรียกชาวนามาเต้นรำ ชาวนาก็ตอบว่า:
Ich habe gehabt [vil arbeit gross]Der sweis mir du[rch die haut floss]Noch wolde ich ger[n dem tod empfliehen]Zo habe ich des glu[cks nit hie]
อาตมาได้ตรากตรำประกอบการงาน
ต่าง ๆเหงื่อกาฬโทรมกายอาตมา
หาที่ว่างเว้นมิได้กระนั้น อาตมาหาอาจหลีกลี้หนีพ้นมรณะได้ไม่ก็ที่นี้ จะหามีผู้ใดที่ทรงคุณพิเศษสามารถกระทำเช่นนั้นได้แล้วไม่มีเลย
“ระบำมรณะ” โดย เบิร์นท โนตเคที่วัดเซนต์นิโคลัสที่ทาลลินน์