นักวิจัยศึกษาฟอสซิลกะโหลกขนาดใหญ่ที่พบในจีน ชี้อาจเป็นมนุษย์โบราณสายพันธุ์ใหม่ อยู่บนโลกเมื่อราว 1.4 แสนปีก่อน มีลักษณะคล้ายมนุษย์ยุคปัจจุบัน นักวิทย์ตั้งชื่อ"มนุษย์มังกร" (Dragon man)
ทีมนักวิจัยนำโดย Prof Qiang Ji จาก Hebei GEO University เผยงานวิจัยการศึกษาฟอสซิลกะโหลกโบราณในวารสาร The Innovation และชี้ว่าอาจจะเป็นสายพันธุ์ใหม่ของมนุษย์ กะโหลกดังกล่าวเกือบสมบูรณ์ และเป็นหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการเข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์ และจุดเริ่มต้นของสายพันธุ์เรา
กะโหลกนี้ถูกพบในเมือง Harbin ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศถูกพบเมื่อปี 1933 มีอายุราว 138,000-309,000 ปี เป็นกะโหลกที่ใหญ่กว่ามนุษย์ปัจจุบัน คาดว่าเขามีหน้าที่กว้าง ดวงตาที่ลึก เบ้าตาที่ใหญ่ ฟันใหญ่ จมูกกว้าง แต่มีสมองที่มีขนาดใกล้เคียงมนุษย์ยุคปัจจุบัน
รูปร่างกะโหลกดังกล่าวมีความแตกต่างทำให้นักวิจัยคาดการณ์ว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ในสกุล Homo และตั้งชื่อว่ามนุษย์มังกร Dragon Man (Homo longi) นักวิจัยได้วิเคราะห์ฟอสซิลกะโหลกนี้ประกอบกับกระโหลกอีก 95 ชิ้นจากจีน และพบว่ามีความใกล้เคียงมนุษย์ยุคปัจจุบัน มากกว่า Neanderthals
Chris Stringer ผู้เชี่ยวชาญด้านวิวัฒนาการของมนุษย์จาก Natural History Musuem เผยว่านี่เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่เป็นเหมือนจิ๊กซอว์ของวิวัฒนาการของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในฟอสซิลมนุษย์โบราณที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีที่สุด โดยชี้ว่าเป็นกลุ่มที่แยกออกไปและวิวัฒนาการในพื้นที่หลายแสนปีก่อนที่จะสูญพันธุ์
กะโหลกมนุษย์ Dragon Man เป็นส่วนหนึ่งในซากที่ถูกพบในจีนและยากที่จะจำแนก โดยยังมีฟอสซิลที่พบใน Dali, Jinniushan, Hualongdong และ Xiahe
โดยยังเป็นที่ถกเถียงว่าฟอสซิลเหล่านี้เป็นตัวอย่างดึกดำบรรพ์ของ Homo sapiens หรือ Neanderthals หรืออีกกลุ่มที่เรียกว่า Denisovans หรือจะเป็นอีกสิ่งที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง โดยทั้งหมดอยู่อาศัยในช่วงเวลาเดียวกันเมื่อ 100,000 ปีก่อน ซึ่งนักวิจัยบางส่วนชี้ว่าฟอสซิลกะโหลกที่พบนี้อาจจะเป็น Denisovan ที่เป็นกลุ่มมนุษย์ปริศนาที่รู้จักจากตัวอย่างในไซบีเรีย และจำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
Mark Maslin ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ระบบโลกจาก UCL ชี้ว่ากะโหลกมนุษย์โบราณที่พบในจีนสภาพสมบูรณ์มากนี้เป็นหลักฐานว่าวิวัฒนาการของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แต่เรารู้ว่ามีสายพันธุ์ Hominins อยู่อาศัยร่วมกับสายพันธุ์ของเรากว่า 10 สายพันธุ์ในอดีต