บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ชุดอุปกรณ์ล่าแวมไพร์โบราณ กับความสนใจเรื่องลี้ลับของคนอังกฤษเมื่อร้อยปีก่อน

ชุดเครื่องมือสมัยศตวรรษที่ 19 มีกลไกลับสำหรับการปิด-เปิด

ชุดเครื่องมือโบราณสำหรับปราบแวมไพร์ของขุนนางอังกฤษในสมัยวิกตอเรียที่เพิ่งถูกนำออกประมูล ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องตำนานผีดิบดูดเลือดของผู้คนเมื่อร้อยกว่าปีก่อน

ชุดเครื่องมีปราบแวมไพร์นี้เพิ่งถูกนำออกประมูลในมณฑลดาร์บีเชอร์ของอังกฤษ และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีผู้ประมูลไปในราคา 13,000 ปอนด์ (ราว 445,000 บาท) ซึ่งสูงกว่าราคาที่ตั้งไว้ถึง 5 เท่า

ชุดเครื่องมือซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องไม้ในสมัยศตวรรษที่ 19 ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ ไม้กางเขน ปืน ค้อนไม้ ขวดน้ำมนต์ สร้อยลูกประคำ แท่งหมุดปักหน้าอก และคัมภีร์ไบเบิล

ที่ฝากล่องเครื่องมือมีไม้กางเขนทองเหลือง ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวล็อกลับของกล่อง ขณะที่อุปกรณ์ที่อยู่ภายในมีการสลักชื่อและที่อยู่ของลอร์ด เฮลีย์ อดีตผู้ปกครองระดับสูงในยุคที่อินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ไม่ชัดเจนว่า ขุนนางผู้นี้มีความจริงจังเรื่องการปราบแวมไพร์มากน้อยเพียงใด และได้เคยใช้อุปกรณ์เหล่านี้หรือไม่


Lord Hailey
ลอร์ด เฮลีย์ เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญในสมัยวิกตอเรีย

ลอร์ด เฮลีย์ มีชื่อจริงว่า วิลเลียม มัลโคล์ม เฮลีย์ หรือ บารอนเฮลีย์ที่ 1 เกิดในปี 1872 เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้รอบรู้ โดยเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมณฑลปัญจาบระหว่างปี 1924 - 1928 และมณฑลสันยุกตปรานต์ระหว่างปี 1928 - 1934 ซึ่งเป็นยุคที่อังกฤษปกครองอินเดีย

ลอร์ด เฮลีย์ ถือเป็นบุคคลสำคัญของชาติ เขาเสียชีวิตในปี 1969 และมีแผ่นจารึกชื่ออยู่ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอน

ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ
คนอังกฤษในยุควิกตอเรีย (ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียระหว่างปี 1837 - 1901) มีความเชื่อเรื่องสิ่งลี้ลับเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับแวมไพร์และบรรดาภูตผีปิศาจชนิดต่าง ๆ

แดร๊กคูลา
ชาร์ลส์ ฮันสัน เจ้าของสำนักจัดการประมูลครั้งนี้กล่าวว่า "แวมไพร์เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสมัยนิยม (popular culture) มายาวนานกว่า 200 ปี โดยอยู่คู่กับคติความเชื่อของผู้คนในยุโรปมาช้านาน"

เขาอธิบายว่า นิยายสั้นเรื่อง The Vampyre ของจอห์น พอลิดอรี ที่ตีพิมพ์ในปี 1819 มีอิทธิพลสำคัญและทำให้เกิดนวนิยายชื่อดังเกี่ยวกับผีดิบดูดเลือดของ บราม สโตกเกอร์ เรื่อง "แดร็กคิวลา" (Dracula) ที่ตีพิมพ์ในปี 1897

อย่างไรก็ตาม ฮันสันบอกว่า ความเชื่อเรื่องแวมไพร์และสิ่งเหนือธรรมชาติมีจุดกำเนินมาช้านานกว่านั้น และยังคงเป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน คนยุคก่อนยึดถือภารกิจการฆ่าแวมไพร์เป็นเรื่องจริงจัง และข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้ระบุถึงการใช้เครื่องมือและวิธีการเฉพาะในการฆ่าผีดิบดูดเลือดชนิดนี้ที่เชื่อกันว่ามีชีวิตเป็นอมตะจากการกินเลือดมนุษย์

รายการบล็อกของฉัน

 hellomanman  happy-topay  invite-buying
 men-women-apparel diarylovemanman news-the-world
 homemanman alovemanman
 menmen-love
 ghost-in-manman  U.F.O.manman fishmanman
foodmanman  flowermanman herbs-in-manman
devilmanman herbs-in-manman manman clip