บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กำเนิด กิโยติน (Origin guillotine)

กำเนิด กิโยติน 
เครื่องประหารแห่งฝรั่งเศษ
กิโยติน (ฝรั่งเศส: guillotine) 
คือเครื่องมือที่ใช้ในการลงโทษโดยการตัดคอ กิโยตินประกอบโครงโดยส่วนมากจะเป็นไม้ ไว้สำหรับแขวนใบมีดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู น้ำหนักประมาณ 40 กก. ใบมีดจะถูกแขวนไว้ในส่วนบนสุด ภายใต้ใบมีดจะเป็นส่วนที่ให้ผู้ถูกลงโทษวางศีรษะ เมื่อเชือกได้ถูกปล่อยหรือตัดลง ใบมีดที่หนักจะหล่นลงไม้ในระยะทางประมาณ 2.3 เมตร และตัดศีรษะผู้ถูกประหาร (ความสูงและน้ำหนักตามมาตรฐานกิโยตินฝรั่งเศส)

ถึงแม้ว่าประเทศฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกที่ใช้การประหารชีวิตด้วยกิโยติน นิโกลาส์ ชัก เปลติเยร์ (Nicolas J. Pelletier) โจรปล้นสัญจรถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินเป็นคนแรกเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 สหราชอาณาจักร มีเครื่องลงโทษลักษณะที่คล้ายกันชื่อ จิบบิต (gibbet) และมีเครื่องลงโทษลักษณะคล้ายกันใน ประเทศอิตาลี และ สวิตเซอร์แลนด์

อองตวน หลุยส์ (Antoine Louis) สมาชิกของกลุ่ม Acad?mie Chirurgical เป็นบุคคลที่คิดค้นการทำงานของเครื่องกิโยติน โดยเครื่องกิโยตินตอนแรกได้ใช้ชื่อว่า หลุยซอง (Louison) หรือ หลุยเซท (Louisette) แต่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "กิโยติน" ตามชื่อของ ดร.โฌเซฟ-อินแนซ กิโยแตง (Joseph-Ignace Guillotin) แพทย์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เสนอแนะการประหารชีวิตโดยการตัดคอ ภายหลัง ดร.กิโยติน ได้เปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากไม่ต้องการใช้ชื่อสกุล เป็นคำเดียวกับวิธีการประหารชีวิต

การใช้เครื่องกิโยตินแทนการประหารชีวิตแบบเก่า โดยเหตุผลว่าเป็นการประหารชีวิตของมนุษย์ ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียงจะถูกตัดคอโดยดาบหรือขวาน ในขณะที่ชาวบ้านทั่วไปจะถูกแขวนคอ หรือวิธีการประหลาดต่างๆ ในช่วงของยุคกลาง (เช่น ถูกเผา หรือมัดกับล้อไม้) ในการตัดคอ มีหลายครั้งที่ตัดคอไม่สำเร็จในดาบแรก ทำให้เกิดความทรมานต่อผู้ถูกประหารชีวิต การใช้กิโยตินจะทำให้ผู้ถูกประหารชีวิตเจ็บปวดน้อยที่สุด ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส มีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินอย่างน้อย 20,000 คน โดยการประหารด้วยกิโยตินถือเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปเช่นกัน

กิโยตินถือเป็นเครื่องประหารชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย จนกระทั่งยกเลิกกฎหมายประหารชีวิตในปี พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) บุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินคือ ยูจีน เว็ดมันน์ (Eugene Weidmann) ฆาตกรสังหาร 5 ศพ โดยถูกตัดศีรษะเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) เวลา 16.32 น. ภายนอกคุก Saint-Pierre rue Georges Clemenceau 5 ที่เมืองแวร์ซายส์

"มารี-อังตัวเนตต์ โฌเซฟ ฌานน์ เดอ ฮับสบูร์ก-ลอแรนน์" ประสูติวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2298 ณ กรุงเวียนนา เป็นธิดาจักรพรรดิแห่งโรม ฟรองซัวส์ ที่ 1 ดยุคใหญ่แห่งแคว้นทัสคานี (ราชสำนักลอเรนน์) กับจักรพรรดินีมารี-เทเรสแห่งออสเตรีย ทรงดำรงพระยศเป็นกษัตริย์แห่งฮังการี ราชินีแห่งแคว้นโบฮีเมีย อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย (ราชสำนักฮับสบูร์ก)

ทรงถูกเลี้ยงดูภายใต้การสอดส่องดูแลของพระมารดาผู้มีแนวความคิดล้าหลังเกี่ยวกับการเลี้ยงดูโอรสธิดา ด้วยการควบคุมสุขอนามัยและกระยาหารอย่างเข้มงวด ทรมานร่างกายด้วยกิจกรรมหนักหน่วง การศึกษาถูกปล่อยปละละเลย มารี อังตัวเนตต์ อ่านออกเขียนได้เมื่ออายุเกือบ 10 ชันษา เขียนภาษาเยอรมันได้ไม่ดีนัก พูดภาษาฝรั่งเศสได้น้อยนิด และน้อยมากสำหรับภาษาอิตาเลียน ขณะที่ราชนิกุลองค์อื่นๆ ของออสเตรีย เขียนและพูดทั้งสามภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว กว่ามารี อังตัวเนตต์จะได้เรียนหนังสือเป็นชิ้นเป็นอันก็ล่วงเข้า 13 ชันษา

13 มิถุนายน 2312 มาร์กีแห่งดูร์ฟอร์ต สู่ขอมารี อังตัวเนตต์ ถวายมกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส และ 16 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสที่พระราชวังแวร์ซาย ท่ามกลางกระแสต่อต้าน "ผู้หญิงออสเตรีย" ของกลุ่มบุคคลชั้นสูงในฝรั่งเศส และในเย็นวันอภิเษกก็มีประชาชน 132 คนขาดใจตายกลางท้องถนนระหว่างพิธีเฉลิมฉลอง
"มารี-อังตัวเนตต์ โฌเซฟ ฌานน์
 เดอ ฮับสบูร์ก-ลอแรนน์"
วันที่ 10 พฤษภาคม 2317 พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส เสด็จสวรรคต มกุฎราชกุมารสืบราชบัลลังก์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และมารี อังตัวเนตต์ ได้ขึ้นเป็นราชินีแห่งฝรั่งเศส และแห่งนาแวร์ แต่กระแสต่อต้านยิ่งรุนแรง ไม่เพียงเพราะเป็นผู้หญิงต่างชาติ แต่จากพฤติกรรมทรงใช้จ่ายเพื่อเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับจำนวนมาก ปรับปรุงพระตำหนัก จัดงานหรูหรา ใช้เงินมหาศาล และทรงแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีเป็นว่าเล่นตามพระทัย หรือไม่ก็ตามคำแนะนำของพระสหายผู้จะได้รับประโยชน์
กลุ่มคนที่ต่อต้านพระนางได้รวมตัวกันตั้งแต่ช่วงขึ้นสู่ราชบัลลังก์ มีการแจกใบปลิวกล่าวหาว่าทรงมีชายชู้ 2 คน ทั้งมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสตรี 2 นาง ใช้จ่ายเงินสาธารณะอย่างสุรุ่ยสุร่ายเพื่อการบันเทิงเริงรมย์ และหนุนหลังออสเตรีย ที่ตอนนั้นปกครองโดยพระเจ้าโจเซฟที่สองแห่งออสเตรีย พระเชษฐา

การที่ทรงนำเงินภาษีของประชาชนมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย ส่งผลให้รัฐบาลฝรั่งเศสต้องเก็บภาษีขูดรีดประชาชนมากขึ้น นำสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ และยิ่งประชาชนอดอยากขาดแคลนเท่าไหร่ พระนางมารี อังตัวเนตต์ ก็ยิ่งเป็นที่เกลียดชังของประชาชนมากเท่านั้น โดยเฉพาะครั้งหนึ่งที่มีผู้กราบทูลว่า "ขณะนี้ประชาชนไม่มีขนมปังจะกินแล้ว" พระนางตอบว่า "ก็ให้เขากินเค้กแทนสิ" แสดงถึงภูมิปัญญาอันอ่อนด้อย และความไม่ใส่ใจ
ในที่สุด พ.ศ.2332 ประชาชนฝรั่งเศสปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์สู่ระบอบประชาธิปไตย ถึงวันที่ 21 มกราคม 2336 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกประหาร และวันที่ 2 สิงหาคม พระนางมารี อังตัวเนตต์ ถูกนำตัวไปยังทัณฑสถานกรุงปารีส ท่ามกลางเสียงประณาม "เป็นผู้มีความละโมบเป็นที่สุด เป็นหายนะอันใหญ่หลวงของชาวฝรั่งเศส และเป็นศัตรูอย่างเปิดเผยของชาติฝรั่งเศส"....
พระนางถูกตัดสินประหารชีวิตข้อเป็นทรราชขั้นร้ายแรงเมื่อ 16 ตุลาคม 2332 เวลา 04.00 นาฬิกา และวันเดียวกันนั้น เวลา 12.15 นาฬิกา มารี อังตัวเนตต์ ถูกประหารด้วยกิโยติน พระศพถูกฝัง ณ ลา มาเดอเลน ถนนอองจู-ซังต์-ตอนอเร ต่อมา 18 มกราคม 2358 พระศพถูกขุดและย้ายไปฝังไว้ที่วิหารซังต์ เดอนีส์ ...
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย manman

รายการบล็อกของฉัน

 hellomanman  happy-topay  invite-buying
 men-women-apparel diarylovemanman news-the-world
 homemanman alovemanman
 menmen-love
 ghost-in-manman  U.F.O.manman fishmanman
foodmanman  flowermanman herbs-in-manman
devilmanman herbs-in-manman manman clip